เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 5. สโตการิญาณนิทเทส
ความหรรษา ความร่าเริงจิต ความปลื้มจิต ความปีติยินดี ความดีใจใด ฯลฯ เมื่อรู้
ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้จิตหายใจเข้า
ฯลฯ เมื่อรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจความเป็นผู้กำหนดรู้
จิตหายใจออก ความเบิกบานแห่งจิตย่อมเกิดขึ้น ความรื่นเริง ความบันเทิง ความ
หรรษา ความร่าเริงจิต ความปลื้มจิต ความปีติยินดี ความดีใจใด นี้เป็นความ
เบิกบานแห่งจิต วิญญาณด้วยอำนาจความเป็นผู้ให้จิตเบิกบานหายใจเข้าหายใจ
ออก ย่อมปรากฏ ความปรากฏเป็นสติ การพิจารณาเห็นเป็นญาณ จิตย่อมปรากฏ
ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวระลึกด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “สติปัฏฐานภาวนาคือการพิจารณา
เห็นจิตในจิต”
คำว่า พิจารณาเห็น อธิบายว่า ภิกษุพิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างไร ฯลฯ
พิจารณาเห็นจิตนั้นอย่างนี้
คำว่า ภาวนา อธิบายว่า ภาวนามี 4 อย่าง คือ ฯลฯ ชื่อว่าภาวนา
เพราะมีความหมายว่าปฏิบัติเนือง ๆ
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีความหมายว่าเป็นผู้ทำจิตให้บันเทิงระวังลมหายใจเข้า
หายใจออก ฯลฯ เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ ไม่ฟุ้งซ่านด้วย
อำนาจความเป็นผู้ทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้าหายใจออก ฯลฯ ย่อมให้อินทรีย์ทั้งหลาย
ประชุมลง ฯลฯ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “และรู้แจ้งธรรมอันมีความสงบ
เป็นประโยชน์” (2)
[178] ภิกษุสำเหนียกว่า “เราตั้งจิตไว้หายใจเข้า” สำเหนียกว่า
“เราตั้งจิตไว้หายใจออก” อย่างไร
สมาธินทรีย์ เป็นอย่างไร
คือ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว เป็น
สมาธิ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว เป็น
สมาธิ ความที่จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านด้วยอำนาจตั้งจิตมั่นหายใจเข้า เป็น


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :277 }